บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

สตี : พิธีบูชายัญตนเองของหญิงหม้ายในอินเดีย

รูปภาพ
SATI : The Fidelity of a Daughter of Warrior Race โดย จิตนภา ศาตะโยธิน(ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร)  สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารศิลปวัฒนธรรมปีที่ 11 ฉบับที่ 15 : มีนาคม 2533 พิธีสตีในอินเดียจากบันทึกของ William Carey ซึ่งเดินทางไปอินเดียในช่วงทศวรรษ 1790s. ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก http://www.andrewcorbett.net/ คำว่า “สตี” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ภรรยาผู้ซื่อสัตย์” ส่วนพิธีสตี หมายถึง ประเพณีการทำศพของชาวฮินดู พบในประเทศอินเดีย พิธีนี้เป็นการบูชายัญตนเองของหญิงหม้าย เนื่องในพิธีศพของสามี ประเพณีการฆ่าภรรยาที่สามีรักที่สุดเหนือหลุมฝังศพของสามีก็จัดอยู่ในพิธีกรรมแบบสตีด้วย พบในภูมิภาคหลายแห่งของโลก เช่น พวกซีสเถียน ธเรสเซียน อียิปต์โบราณ สแกนดิเนเวีย ชาวจีนและในกลุ่มสังคมแถบโอเชียเนียและแอฟริกา พิธีสตีของศาสนาฮินดูอาจมีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อแต่โบราณโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชำระบาปให้แก่ทั้งสามีและภรรยา และเพื่อความมั่นใจว่าคู่สามีภรรยาจะได้อยู่ร่วมกันต่อไปในหลุมศพเดียวกัน พิธีสตีขาดความสืบเนื่อง  เพราะสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดียเป็นอาณาน

การวิเคราะห์ และเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังภาพสุริยุปราคา

รูปภาพ
 จิตรกรรมรัชกาลที่ ๔ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาภายในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร   จิตรกรรมรัชกาลที่ ๔ ทอดพระเนตรสุรุยุปราคาที่ภายในพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  บทนำ           สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน เงาของดวงจันทร์จึงบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกทำให้ดวงอาทิตย์มืดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด คนไทยรู้จักปรากฏการณ์ข้างต้นตามโลกทัศน์ของคนโบราณดังปรากฏใน “ คัมภีร์ไตรยภูมิโลกย์สัณฐาน” “ คำภีร์โหร” และตำนานสุริยคราสและจันทรคราส ในสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีภาพจิตรกรรมไทยแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไตรภูมิหรือจักรวาลในทัศนะของชาวพุทธ ซึ่งในฉากประกอบด้วยภาพเขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ ฯลฯ และสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ ภาพการโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์และพระราหู ที่เป็นความเชื่อเรื่องราหูอมตะวันและราหูอมจันทร์ การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเหตุการณ์ของพระมหากษัตริย์กำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ผนังด้านสกัดตรงข้ามพระประธานในพระอ

หัวหิน: ผลกระทบจากความขัดแย้งเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์และการต่อสู้ของชุมชนผู้ค้ารายย่อยแห่งชายหาดหัวหิน

รูปภาพ
                                                    โดย  ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร บทคัดย่อ หัวหินเป็นสถานที่พักตากอากาศของชนชั้นสูงตั้งแต่ก่อนสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในทางประวัติศาสตร์การถวายฎีกาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงเวลานี้ที่หัวหิน อาจสะท้อนให้เห็นชนวนของความขัดแย้งของคนต่างชนชั้นมาแล้ว เมื่อหัวหินพัฒนาการสู่การเป็นเมืองตากอากาศชายทะเลระดับโลก ประชากรของหัวหินก็มีทั้งกลุ่มคนท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเมื่อ 200ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนที่เข้าไปทำมาหากินที่หัวหินแล้วสมรสกับชาวหัวหิน และกลุ่มชาวกรุงเทพฯทั้งที่เป็นทายาทของชนชั้นสูงที่เคยมีบ้านพักตากอากาศที่หัวหิน และชาวกรุงเทพฯซึ่งมีบ้านหลังที่สอง ต่อมาหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 ความขัดแย้งทางการเมืองระดับประเทศยังส่งผลกระทบให้ชาวหัวหินแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิยมกลุ่มปฏิวัติกับฝ่ายนิยมเจ้า และท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในสมัยปัจจุบัน อาจพบว่าเมืองหัวหินยังคงมีเรื่องราวของความขัดแย้งที่เกิดจากการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยว จนเกิดกรณีการยื่นถวายฎีการ้องหาความยุติธรรมของชุมชนผู้

พัฒนายั่งยืนเพื่อผืนแผ่นดินไทย

                                                                                 โดย อาจารย์วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์           นับแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทย ท่ามกลางความผันผวนทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ด้วยพระราชวิจารณญาณถึงการณ์ไกล ทรงพระบรมราชวินิจฉัยที่เด็ดเดี่ยว ทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 จึง เป็นจุดเริ่มต้นที่พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์พระองค์แรก             เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา

การสืบสานโบราณราชประเพณี

ทรงสืบสานโบราณราชประเพณี โดย  อาจารย์ บุหลง  ศรีกนก การสมโภชพระนคร เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในพ.ศ.๒๓๒๕ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมโภชพระนครในพ.ศ.๒๓๒๘ ซึ่งมีการสมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นแบบแผนธรรมเนียมสืบมา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพมหานครสถาปนาครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้จัดการสมโภชพระนครพร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรี รัตนศาสดารามทั่วทั้งพระอาราม เมื่อถึงรัชกาลที่ ๗ เป็นเวลาที่ครบรอบ ๑๕๐ ปีการสถาปนาพระนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระนครอีกคราวหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสิ่งพระบรมราชานุสรณ์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างกรุงเทพมหานคร และประดิษฐานพระบรมวงศ์จักรี คือสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมด้วยพระบรมรูปปั้นประดิษฐานใกล้กับสะพาน พระราชทานนามว่า ปฐมบรมราชานุสรณ์ การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังตามราชประเพณี ภาพการพระราชพิธีเปิดพระปฐมบรมราชานุสสรณ์ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ พร้อมส่วนหนึ่งของพระราชดำร

ครูของแผ่นดิน

รูปภาพ
โดย อาจารย์ ศิริน โรจนสโรช           พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีนับแต่อดีตกาลมาทรงสนับสนุนพลเมืองให้แสวงหาความรู้เพื่อประโยชน์ของตนและชาติบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ และรัชกาลปัจจุบันก็ทรงใฝ่เรียนรู้ และทรงสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่เรียนรู้และทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้ศาสตร์หลายสาขา ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทเล่าว่า โปรดการเป็นครู การค้นคว้าวิจัย          “...เวลานี้ญี่ปุ่นเขาขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งแล้ว เขาเริ่มมีนักวิทยาการคิดสร้างเครื่องใช้ที่จะเป็นประโยชน์แก่โลกขึ้นแล้ว ส่วนประเทศสยามเราจะต้องมุ่งให้ถึงขีดเท่าเขาเหมือนกัน เราจะเรียนแต่เอาอย่างเท่านั้นไม่ได้ ต้องเรียนคิดเองด้วยจึงจะเจริญแท้...” (พระราชดำรัสพระราชทานแก่นักเรียนอุปชาติปีมะเส็ง ณ พระราชวังสราญรมย์ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ว่าด้วยลักษณะเอาอย่าง )           ด้วยพระราชอุปนิสัยใฝ่รู้ จึงโปรดการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ที่สำคัญคือ ทรงเรียนรู้จากหนังสือ และจากประสบการณ์ที่ทรงได้รับ เมื่อ