บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2010

สตี : พิธีบูชายัญตนเองของหญิงหม้ายในอินเดีย

รูปภาพ
SATI : The Fidelity of a Daughter of Warrior Race โดย จิตนภา ศาตะโยธิน(ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร)  สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารศิลปวัฒนธรรมปีที่ 11 ฉบับที่ 15 : มีนาคม 2533 พิธีสตีในอินเดียจากบันทึกของ William Carey ซึ่งเดินทางไปอินเดียในช่วงทศวรรษ 1790s. ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก http://www.andrewcorbett.net/ คำว่า “สตี” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “ภรรยาผู้ซื่อสัตย์” ส่วนพิธีสตี หมายถึง ประเพณีการทำศพของชาวฮินดู พบในประเทศอินเดีย พิธีนี้เป็นการบูชายัญตนเองของหญิงหม้าย เนื่องในพิธีศพของสามี ประเพณีการฆ่าภรรยาที่สามีรักที่สุดเหนือหลุมฝังศพของสามีก็จัดอยู่ในพิธีกรรมแบบสตีด้วย พบในภูมิภาคหลายแห่งของโลก เช่น พวกซีสเถียน ธเรสเซียน อียิปต์โบราณ สแกนดิเนเวีย ชาวจีนและในกลุ่มสังคมแถบโอเชียเนียและแอฟริกา พิธีสตีของศาสนาฮินดูอาจมีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อแต่โบราณโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชำระบาปให้แก่ทั้งสามีและภรรยา และเพื่อความมั่นใจว่าคู่สามีภรรยาจะได้อยู่ร่วมกันต่อไปในหลุมศพเดียวกัน พิธีสตีขาดความสืบเนื่อง  เพราะสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดียเป็นอาณาน