บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2010

งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการใช้ผังมโนทัศน์

รูปภาพ
ฉัตรบงกช  ศรีวัฒนสาร คำว่า “ประวัติศาสตร์” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “Historia” แปลว่า “Inquiry” หมายถึง การค้นคว้าหาความจริงอย่างวิเคราะห์และเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ต่างๆอย่างชัดเจน หลักฐานประวัติศาสตร์ จำแนกเป็น ๓ ประเภท คือ งานเขียนที่จงใจบันทึกไว้ ได้แก่ บันทึกความทรงจำ ประวัติบุคคล บันทึกชาวต่างชาติ วิทยาการความรู้ต่างๆ ซึ่งอาจมีอคติของผู้บันทึกปรากฏอยู่ในหลักฐานนั้นได้ หลักฐานอีกประเภทหนึ่งคือ หลักฐานที่หลงเหลือโดยไม่ตั้งใจ ได้แก่ วรรณคดีร่วมสมัย ประกาศต่างๆของทางราชการ หนังสือพิมพ์ และงานช่างศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งค่อนข้างตรงกับเหตุการณ์มาก ประเภทที่สาม คือ หลักฐานที่เป็นเครื่องเตือนใจได้แก่ อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ประวัติศาสตร์ มีคุณค่าต่อการเรียนรู้เรื่องราวในอดีตและวิทยาการต่างๆ ประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจอดีตและปัจจุบัน รวมถึงเป็นบรรทัดฐานต่อการตัดสินใจในอนาคตในกิจกรรมทุกประเภทอย่างเหมาะสม บทบาทของบุคคลในประวัติศาสตร์เป็นแบบอย่างของจริยธรรมความดีงาม ความกล้าหาญ ความเป็นปึกแผ่นของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป